ใครคือ...ศุขเล็ก?
ศุขเล็ก = ประยูร จรรยาวงษ์

ศุขเล็ก เป็นพระเอกลิเกคารมคมคายและเป็นเจ้าของคณะลิเก
“ยอดชายนายศุขเล็ก”
เมื่อปี พ.ศ. 2482 “นายศุขเล็ก “ นับว่าได้แจ้งเกิด มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วบ้าน
ทั่วเมือง จากการ์ตูนลิเก เรื่อง “จันทะโครบ” ในหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษรายวัน
มีแฟนลิเกติดตามอ่านการ์ตูนกันงอมแงม บางคนถึงกับมาที่หน้าสำนักพิมพ์
เพื่อยืนอ่านการ์ตูนที่โรงพิมพ์ติดไว้ให้
จุดเด่นของการ์ตูนเรื่องยาว “คณะยอดชายนายศุขเล็ก” คือ ผู้เขียนได้นำเรื่องราว เหตุการณ์บ้านเมืองและสังคม ในช่วงเวลานั้นๆสอดแทรกไปด้วย ด้วยบทกลอนลิเกที่คมคายและสนุกสนาน ชวนติดตาม
บางครั้งมีภาพผู้ชมลิเกเข้ามามีบทบาทด้วย เช่น คนดูร้องไห้สงสารพระเอกนางเอกที่ต้องตกระกำลำบาก มีแม่ยก หรือแฟนลิเกที่ชื่อ แม่จิ๋ว มาติดอกติดใจนายศุขเล็ก ให้พวงมาลัยผูกเงิน บ้างก็มี เพื่อเพิ่มสีสันในเรื่อง บางคราวคณะลิเกก็ต้องย้ายตามหนังสือพิมพ์ไป เขาก็ได้เขียนบรรยายภาพถึงการ อพยพย้ายวิกลิเกลงไปด้วยเป็นต้น
ศุขเล็ก
ยอดนักคิด นักเขียน
ที่แสดงความคิดเห็นของเขาที่มีต่อสังคม และเหตุการณ์บ้านเมือง ในยุคสมัยต่างๆในชีวิตของการเขียนภาพล้อเหตุการณ์บ้านเมือง ของประยูร จรรยาวงษ์ มีบางครั้งที่กองบรรณาธิการต้องตัดสินใจไม่พิมพ์ เพื่อความอยู่รอดของสำนักพิมพ์ ก็ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลในยุคนั้นๆแต่ด้วยแนวคิดอิสระที่ไม่มีใครบังคับได้ผู้อ่านจะเห็นภาพ นายศุขเล็กเย็บปาก หัวหน้าฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติในขณะนั้น ก็มีหนังสือมาแจ้งให้ศุขเล็กเลิกเย็บปากเพราะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าถูกริดรอนเสรีภาพ ศุขเล็กจึงมีหนวดมาทับปากที่เย็บไว้
เหตุการณ์
ที่เย็บปากออก เพราะความปรารถนาของเขาคือเป็นเพียงผู้ดู และวิจารณ์การเมือง โดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
เขาทำหน้าที่เสมือนเป็นกระจกเงาที่สะท้อน และสะกิดใจให้ผู้ปกครองบ้านเมืองทราบ ว่าประชาชนคิดเห็น อย่างไรเท่านั้น โดยไม่ใช้คำพูดหยาบคายด่าว่าผู้ใดเป็นอันขาด
ยุคการเมืองต่างๆจากประสบการณ์ชีวิต
แบ่งเป็นประมาณ 5 ยุค ด้วยกัน


5 ยุค ร้อยเรียงจากประสบการณ์สู่เรื่องราว
2. ยุค `` ในหลวงอานันท์ฯ เสด็จสวรรคต`` เป็นยุคของความเศร้าหมอง ใบหน้าของศุขเล็กจึงเต็มไปด้วยน้ำตา ปากก็ถูกปิด และติดแขนไว้ทุกข์
3. ยุค ``จงทำดี`` เป็นยุคที่ ศุขเล็ก ต้องเย็บปากตัวเอง ด้วยคำสั่งห้ามวิจารณ์การเมือง จากคณะปฏิวัติ
4. ยุค ``อัศวินม้าขาว`` ยุคที่เขาถูกสั่งให้เลิกเย็บปาก จึงต้องใส่หนวดปิดปากที่ถูกเย็บแทน
5. ยุค`` ท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ`` เป็นยุคที่เขาปลดทั้งหนวดและ เลิกเย็บปากตนเองเพราะถือว่าเป็นอิสระแล้ว
แต่ก็เป็นยุคที่เขาบอบช้ำเพราะถูกนักศึกษาบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับงานเขียนของเขาจึงถูกโจมตีว่าเป็น”ไดโนเสาร์เต่าล้านปี” ใบหน้าของศุขเล็กจึงเต็มไปด้วยผ้าปิดแผล
อยู่อย่าง
“ศุขเล็ก”
ศุขเล็ก แกลอรี่
TG11298_150927150749_0001

TG11298_150927150749_0002

TG11298_150927150749_0003

TG11298_150927150749_0004

TG11298_150927150749_0005

TG11298_150927150749_0006

TG11298_150927150749_0007

TG11298_150927150749_0008

TG11298_150927150749_0009

TG11298_150927150900_0001

TG11298_150927150900_0002

TG11298_150927150900_0003

TG11298_150927150900_0004

TG11298_150927150900_0005

TG11298_150927150900_0006

TG11298_150927150900_0007

TG11298_150915153335_0008

TG11298_150915153335_0007

TG11298_150915153335_0005

TG11298_150915153335_0004

TG11298_150915153335_0003

TG11298_150915111302_0003

TG11298_150915111302_0004

TG11298_150915111302_0005

TG11298_150915111302_0006

TG11298_150915151617_0001

TG11298_150915153335_0001

TG11298_150915153335_0002

TG11298_150915111302_0002

TG11298_150915111302_0001

TG11298_150915110757_0004

TG11298_150915110757_0003

TG11298_150915110757_0002

TG11298_150915110757_0001

TG11298_150915104806_0005

TG11298_150915104806_0002

TG11298_150915104806_0003

TG11298_150915104806_0004

TG11298_150915104806_0002

TG11298_150915104806_0003

TG11298_150915104806_0005

TG11298_150915110757_0002

TG11298_150915110757_0001

TG11298_150915110757_0004

TG11298_150915104806_0001

TG11298_150914201603_0001

TG11298_150914201226_0001

TG11298_150914200306_0001

TG11298_150914200237_0001

TG11298_150914201036_0001

TG11298_150914201128_0001

TG11298_150914200116_0001

TG11298_150914195740_0001

TG11298_150914195832_0001

TG11298_150914200206_0001

กำเนิด
ศุขเล็ก
การ์ตูนคือชีวิต แต่ชีวิตไม่ใช่การ์ตูน ของประยูร จรรยาวงษ์
ชีวิตที่ผูกพันกับการ์ตูนของประยูร จรรยาวงษ์เริ่มจากความหลงรักการเขียนการ์ตูน ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เขายอมอดอาหารกลางวันเก็บเงินที่ยายให้มา เพื่อไปซื้อหนังสือพิมพ์ฝรั่งเก่าๆที่มีภาพการ์ตูนมาอ่านและฝึกหัดเขียนด้วยตนเอง เริ่มจากความรัก ณ จุดนั้น การ์ตูนได้กลายมาเป็นชีวิตของเขา…ประยูร จรรยาวงษ์
นายศุขเล็ก ตัวการ์ตูนที่คนไทยรัก
ประยูร จรรยาวงษ์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 เขาฝึกหัดเขียนการ์ตูนด้วยตนเอง ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน จนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
เขาได้มีโอกาสติดตามครูอบ ไชยวสุ นักเขียนนามปากกา “ฮิวเมอริสต์” เข้าไปในวงการหนังสือพิมพ์ และได้มีโอกาสทำงานในฐานะช่างเขียนหัวเรื่องให้กับหนังสือพิมพ์ประชามิตร เขาเริ่มหัดเขียนการ์ตูน เรื่องยาวที่นั่น แต่การ์ตูนเรื่องแรกๆ ของเขาไม่ได้รับการตีพิมพ์เพราะฝีมือยังไม่ดีพอ
ฝีมือการเขียนการ์ตูนเรื่องยาวของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักจากเรื่อง “จันทโครพ” ที่ได้รับการตีพิมพ์ในหน้า 4 ของหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ และได้สร้างชื่อเสียงให้เขาอย่างรวดเร็ว ตัวการ์ตูนสำคัญที่เขาได้สร้างขึ้น
ในช่วงเวลานั้นคือ “นายศุข (เล็ก)” หรือที่ต่อมาคือ “ศุขเล็ก” พระเอกลิเกและเจ้าของคณะลิเก “ยอดชายนายศุขเล็ก” ที่ได้กลายเป็นตัวการ์ตูนที่เป็นสัญญลักษณ์เฉพาะตัวของประยูร จรรยาวงษ์ เป็นตัวการ์ตูนที่คนไทยผูกพันรักใคร่มาตั้งแต่สมัยนั้นจนถึงวันนี้
การ์ตูนนิสท์และนักหนังสือพิมพ์
ประยูร จรรยาวงษ์ทำงานในฐานะการ์ตูนนิสท์และได้เขียนการ์ตูนเรื่องยาวต่อมาอีกหลายสิบเรื่องลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ในสมัยนั้น เขายังเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ร่วมทำหนังสือพิมพ์หลายฉบับในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิเช่น อโยธยา สยามนิกร พิมพ์ไทย เป็นนักเขียนการ์ตูนภาพล้อ วาดภาพประกอบเคยดำรงตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามสมัยรายสัปดาห์ ซึ่งเขาลงมือวาดภาพปกเป็นภาพสีน้ำด้วยตัวเองผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์เสียงอ่างทอง จนกระทั่งย้ายมาสังกัด หนังสือพิมพ์สยามรัฐของม.ร.ว.คึกฤทธฺ์ ปราโมช และในเวลาต่อมาได้เขียนประจำให้กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจวบจนเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2535
การ์ตูนของโลก คนของโลก
ประยูร จรรยาวงษ์ สร้างผลงานการ์ตูนให้กับวงการหนังสือพิมพืไทยมากว่า 50 ปี ผลงานที่มีชื่อเสียง ระดับโลกคือ ” The Last Nuclear Test ” หรือ “การทดลองระเบิดปรมาณูครั้งสุดท้าย” ที่ได้รับรางวัลการ์ตูนเพื่อสันติภาพของโลก ” Cartoons for Peace Award ” ณ กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2503 ประยูร จรรยาวงษ์ยังเป็นหนึ่งในคนไทยที่ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ อันทรงเกียรติ ในสาขาหนังสือพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2513
การ์ตูนของคนไทย ขวัญใจคนจน
นอกจากการ์ตูนเรื่องยาว การ์ตูนภาพล้อการเมืองและสังคมแล้ว ประยูร จรรยาวงษ์ยังสร้างผลงานการ์ตูนชุด “ขบวนการแก้จน” บอกเล่าประสบการณ์ชีวิต ให้ความรู้ ให้แนวคิด และบอกวิธีง่ายๆในการใช้ชีวิตแบบไทยๆในวิถีพอเพียง ดังที่เขาได้เขียนไว้ในการรวมเล่มครั้งแรกว่า “ ประสบการณ์ชีวิตบอกกับตัวเองว่า ความขยัน หมั่นเพียรอย่างจริงจังเท่านั้น ที่จะเอาชนะความจนได้อย่างเด็ดขาด ฉะนั้นความจนจึงเป็นความจนที่น่ารักสำหรับผม ซึ่งผมเอาชนะมันได้ทุกวัน “
ผลงานการ์ตูนที่ประยูร จรรยาวงษ์ได้สร้างสรรค์มาตลอดช่วงชีวิตของเขา เต็มไปด้วยเรื่องราว ที่จุดประกายความคิดใหม่ๆ เข้าถึงผู้คนอย่างเป็นกันเอง และยังสะท้อนบรรยากาศของสังคม และการเมืองไทยในแต่ละยุคสมัย การ์ตูนของประยูร จรรยาวงษ์ นับเป็นก้าวสำคัญของวงการ หนังสือพิมพ์ในประเทศไทย
ชีวิตที่ทุ่มเทให้กับการ์ตูนของเขาได้สร้างชีวิตหนึ่งที่มีคุณูปการอย่างกว้างขวางต่อสังคมไทย ชีวิตที่ไม่ใช่การ์ตูนของประยูร จรรยาวงษ์
————————–
สาลินี หาญวารีวงศ์ศิลป์ จาก THE WRITE GUY ผู้เขียน”

มูลนิธิ ประยูร จรรยาวงษ์
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยทายาทและบุคคลผู้สนิทสนมกับประยูร จรรยาวงษ์ เพื่อต้องการจะเก็บรักษาและเผยแพร่ผลงานอีกทั้งสานต่อเจตนารมณ์ของประยูรฯ ที่ต้องการทำประโยชน์ให้กับสังคม